แผลกดทับ สาเหตุและวิธีป้องกันแผลกดทับ
อาการแผลกดทับเป็นอย่างไร
|
แผลกดทับ คือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีการตายเนื่องจากขาดเลือด ไปเลี้ยงจากการถูกกดทับเป็นเวลานาน สำหรับส่วนที่พบแผลกดทับบ่อย คือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือปุ่มกระดูก ที่พบส่วนมากคือบริเวณปุ่มกระดูกก้นกบ ตาตุ่ม และส้นเท้า เพราะโดยปกติทั่วไปเราจะชอบนอนหงายแต่ที่มากที่สุด คือ บริเวณก้นกบสะโพก ต่อมาก็บริเวณสะบักทั้ง 2 ข้าง ส้นเท้าทั้ง 2 ข้างและบริเวณท้ายทอย สำหรับแผลที่เกิดกับผู้ที่นอนหงายแต่สำหรับผู้ที่นอนตะแคง แผลกดทับที่เกิด คือ บริเวณด้านข้างของศีรษะ ปุ่มกระดูก บริเวณหัวไหล่ บริเวณข้อศอก ต้นขา ข้างเข่าด้านนอกและ ตาตุ่ม อีกสิ่งหนึ่ง คือ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ไทรอยด์ หรือมีการบวมซึ่งจะขัดขวาง การไหลเวียนเลือด อาหารที่ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ เมื่อสารอาหารและ ออกซิเจน น้อยลงก็จะเกิดส่วนที่เป็นแผลกดทับได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะ โลหิตจางก็ควร ระวัง สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับด้านโภชนาการไม่ดี ในผู้สูงอายุย่อม ส่งผลด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีอาการ ป่วยเรื้อรังทาน อาหารได้น้อยลง ได้รับสาอาหารที่น้อยลงตามมา เพราะ ฉะนั้นความต้านทาน ของเนื้อเยื่อก็มีน้อยลง ยิ่งถ้าเกิดแผลกดทับแล้วก็จะ หายยาก
|
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับและปัจจัยเสริม เป็นเรื่องของ อายุของคนไข้ที่เพิ่มสูงขึ้นผิวหนังจะบางลง เพราะชั้นใต้ผิวหนังไขมันลดลง ความยืดหยุ่นน้อยลง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นทำให้แรงถดถอยลง การเคลื่อนไหวที่น้อยลงเพราะผู้สูงอายุบางท่านก็นอนไม่เปลี่ยนท่าก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งคือการมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือ ไทรอยด์ก็เป็นอีกสาเหตุที่ส่งเสริม ถ้ามีการจำกัดการเคลื่อนไหว อย่างเช่น ผู้ที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุสาหัส กระดูกหัก ดึงถ่วงน้ำหนักไว้หรือมีการผ่าตัด สามารถเกิดแผลกดทับได้ง่าย
สำหรับบางรายที่มีการทานอาหารน้อยลงได้สารอาหารไม่ครบทำให้เนื้อเยื่ออ่อนแอทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายยาก และสำหรับรายที่มีอาการบวมจะเกิดการขัดขวางการลำเลียงอาหารและออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ และผู้ที่มีภาวะโลหิตจางเกิดจากการขาดตัวนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ก็สังผลให้เกิดแผลกดทับได้ ซึ่งปัจจัยส่วนใหญ่มาจากตัวผู้ป่วยที่เกิดจากภายในร่างกาย แต่กรณีจากภายนอกที่ส่งเสริม เกิดจากแรงเสียดทาน การลื่นไถล หรือมีแรงกดโดยตรงบริเวณปุ่มกระดูกก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
|
|
|
|||
ที่นอนลมแบบลอน | ที่นอนลมแบบรังผึ้ง |
การป้องกันที่สามารถทำได้ คือ ลดแรงกดที่บริเวณปุ่มกระดูก ซึ่งทำได้ 2 วิธี
|
|
1. การพลิกตะแคงตัว
เมื่อนอนเราหงายเกิน 2 ชั่วโมง เนื้อเยื่อจะเริ่มขาดเลือดไปเลี้ยง จึงควรจะเปลี่ยนท่าไปเป็นการนอนพลิกตะแคง แต่การพลิกตัวช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ป่วยและสภาพของที่นอน
2. ใช้อุปกรณ์เสริม
เป็นวิธีที่สะดวกสำหรับผู้ป่วย และผู้ดูแล เพราะที่นอนลมมีการไหลวนของอากาศภายในที่นอน ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งเป็น อีกวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันการเกิดแผลกดทับได้อย่างดีเยี่ยม
|
-ที่มา : http://health.dmc.tv