ออกซิเจน , ภาวะพร่องออกซิเจนชนิดต่างๆ , อาการ
ความสำคัญของ ออกซิเจน ออกซิเจนเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับสุขภาพ ความงาม และจิตใจที่ปลอดโปร่ง นอกจากนี้ยังทำให้ดูอ่อนกว่าวัย แต่สำหรับชีวิตในทุกวันนี้มีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้คนเราได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอที่จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ ปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่ การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารรสชาดอร่อยแต่ไม่มีคุณค่า การรับประทานมากเกินไป การอาศัยในตึกสูงหรือสภาพแวดล้อมที่อุดอู้เป็นเวลานานๆ มลภาวะอากาศเป็นพิษ สารกันบูด และสารพิษอื่นๆที่ปะปนอยู่ในอาหารที่เรารับประทาน ตลอดจนการบริโภคสารเคมี หรือยารักษาโรค
อากาศที่เราหายใจในปัจจุบัน มีออกซิเจนโดยประมาณ 21% |
ภาวะพร่องออกซิเจน
หมายถึงภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อันเนื่องจากสภาวะต่างๆ ดังนี้
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง ภาวะดังกล่าว จะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง มีผลให้ออกซิเจนมีระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้ ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ถ้าร่างกายปรับตัวไม่ได้กับภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้เกิด อาการจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน กระสับกระส่าย
|
|
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง ภาวะดังกล่าวทำให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลง การที่ร่างกายได้รับสารพิษจากอากาศ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
|
|
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนักๆ ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องการอกซิเจนมากกว่าปกติ อาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึง และเพียงพอ เป็นสาหตุทำให้เหนื่อยเร็ว และอ่อนล้า
|
|
ความเครียด ความเครียดทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น ถ้า ออกซิเจนไม่พอ อาจทำให้รู้สึกปวดศีรษะและมึนศีรษะ
|
|
อาหารที่มีไขมันมาก อาหารที่มีไขมันสูงจะมีปริมาณออกซิเจนน้อย เวลารัปประทาน ทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือด ต่ำลง
|
|
ผู้สูงอายุ ร่างกายคนเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมเกิดขึ้นในทุกระบบของร่างกาย อาทิ ระบบ ทางเดินอาหาร ระบบการหมุนเวียนของเลือดและหัวใจ ระบบหายใจ ทำให้ความสามารถในการรับ ออกซิเจนน้อยลง ทำให้เกิดอาการต่างๆจากภาวะพร่องออกซิเจน
|
|
การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อร่างกายในหลายๆระบบ เช่น กล่องเสียง หลอดเลือดในสมอง ถุงลม ปอดพอง ทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง ทำให้เส้นเลือด มีคาร์บอนไดออกไซด์ มาก และมีออกซิเจนน้อย การสูบบุหรี่เป็นระยะนานๆ ส่งผลให้อาการขาดออกซิเจนยิ่งเป็นมากขึ้น
|
|
การดืมเหล้าและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การดื่มเหล้าและแอลกอฮอล์ปริมาณมากเกินควรส่งผลต่อร่างกายเกิดผลเสียแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งต่อระบบตับ สมอง และหัวใจ และอื่นๆ แบบเฉียบพลัน ถ้าดื่มมากๆจนมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 30mg.% จะเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้ มีอาการร่าเริง 50mg.% จะกระทบต่อการควบคุมการเคลื่อนไหว 200mg.%จะเกิดอาการสับสน ถ้ามากถึง 400 mg.% มีผลต่อระบบสมองได้รับออกซิเจนน้อยลง ระบบหัวใจ และหลอดเลือดทำให้ การสูบฉีดโลหิตน้อยลง จนเกิดอาการสลบและอาจถึงตายได้ |
ผลของการที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
คอ | ไอ หลอดอาหารหดตัว(constricted Esophagus) โรคเกี่ยวกับทรวงอก (Thoracic Diseases) |
การหายใจ | หายใจไม่ค่อยออก นอนไม่หลับ(insomnia) โรคนอนกรน(snoring) |
ปอด | โรคหืด(Asthma) หลอดลมอักเสบ(Bronchitis) ไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อไวรัสเฉียบพลัน(Influenza) |
ลำไส้เล็ก | ภาวะไม่อยากอาหารหรือไม่สามารถรับประทานอาหารได้ (Anorexia) ระบบการดูดซึมอาหารบกพร่อง |
ระบบการทำงานของหัวใจ หลอดเลือด | หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ(Arrhythmia) โรคหัวใจ Heart Disease หัวใจวาย โรคปวดตามข้อ Rheumatism ข้อต่อ อักเสบ Arthritis โลหิตจาง(Anemia) โลหิตเป็นพิษ Blood Toxicity ท้องผูก Constipation แผลเรื้อรังเกี่ยวกับ กระเพาะอาหาร(Gastric Ulcer) แผลเรื้อรังที่ลำไส้เล็กตอนต้น(Duodenal Ulcer) |
มะเร็ง | เนื้องอกTumors บวมน้ำ(swelling) ปวดกล้ามเนื้อจากการมีกรดแลกติกสะสม การอักเสบ(Inflammation) |
ระบบภูมิคุ้มกัน | ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน |
ระบบไหลเวียนโลหิต | ชาที่ปลายประสาท อาการตะคริว อ่อนเพลี้ยเรื้อรัง เครียด หดหู่ เป็นกังวล |
อาการที่ผู้อยู่ในภาะออกซิเจนรู้สึก และอาการแสดงออกภายนอกที่ผู้อื่นสังเกตุเห็น เป็นประโยชน์ต่อคนไข้ ในการป้องกันอาการรุนแรงที่จะตามมาจากการขาดออกซิเจน โดยสามารถทดแทนออกซิเจนได้ทัน โดยให้ออกซิเจนจากแท้งออกซิเจน หรือ เครื่องผลิตออกซิเจน กรณีที่มีเตรียมไว้ที่บ้าน กรณีผู้ป่วยกิดอาการภาวะพร่องออกซิเจนบ่อยๆ
เครื่องผลิตออกซิเจน ทำงานโดยอาศัยหลักการของ PSA Technology เครื่องจะนำอากาศเข้าเครื่องและดูดซับ nitrogen จากอากาศที่ดูดเข้าไป ผลลัพธ์ที่ได้คือ ออกซิเจนที่ความบริสุทธิ์ประมาณ 95%
เครื่องผลิตออกซิเจน ยี่ห้อ GOODCARE (กู๊ดแคร์) | เครื่องผลิตออกซิเจน ยี่ห้อ KONSUNG (คอนซุง) |
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง
|
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการได้รับออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง
|
- ที่มา chi-exercise.com